สถานที่สำคัญแหล่งท่องเที่ยว

หนังประโมทัย ตำบลโพนทัน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร

ประวัติความเป็นมาของหนังประโมทัย ในเรื่องราวประวัติความเป็นมาของหนังประโมทัยนั้น ปรากฏว่าไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นหลักฐานที่แน่นอน จะมีเพียงแต่ข้อสันนิษฐานและคำบอกเล่าสืบต่อกันมามีข้อสันนิษฐานบางแห่งว่า หนังตะลุงภาคอีสาน เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2468 จากการเลียนแบบหนังตะลุงคณะที่ไปจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บางแห่งสันนิษฐานว่า เกิดจากการที่ชาวอีสานเดินทางไปทำงานและอยู่อาศัยทางภาคกลางและได้เห็นหนังตะลุงภาคใต้ที่ชาวใต้นำขึ้นมาแสดงที่กรุงเทพฯ เลยจำแบบอย่างมาดัดแปลงให้เข้ากับท้องถิ่นของตนเอง และในที่สุด ก็เริ่มมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ด้วยการเอาหมอลำมาผสมผสานเข้ากับหนังตะลุง จึงเชื่อว่า หนังตะลุงภาคอีสานนั้น เกิดหลังจากหนังตะลุงภาคอื่นๆที่เขามีกันมาแล้ว จากประวัติความเป็นมา พัฒนาขึ้นมาจากการรับเอาอิทธิพลของหนังตะลุงภาคใต้ ทั้งที่ได้รับจากภาคใต้โดยตรง และรับเอามาจากหนังตะลุงภาคกลางที่เกิดจากหนังตะลุงภาคใต้อีกต่อหนึ่งข้อสันนิษฐานอีกข้อหนึ่ง เชื่อว่า หนังประโมทัยอีสานนั้น มีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานีเป็นศูนย์กลางแห่งแรก คณะหนังประโมทัยที่เก่าแก่ที่สุดคือ คณะฟ้าบ้านทุ่ง ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๗ คณะหนังประโมทัยที่เก่าแก่รองลงมา ได้แก่ คณะบุญมี ซึ่งมาจากจังหวัดอุบลราชธานีและมาตั้งคณะขึ้นในจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๗ คณะประกาศสามัคคี ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2490 นอกจากนี้ยังมีคณะ ช . ถนอมศิลป์ บ้านโคกสี ตำบลโพธิ์ทอง กิ่งอำเภอศรีสมเด็จ และคณะ ป.บันเทิงศิลป์ บ้านสีแก้ว ตำบลสีแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด หนังประโมทัยของพ่อใหญ่ถัง อำเภอน้ำพองจังหวัดขอนแก่น คณะหนังประโมทัยบ้านสระแก้ว อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น เป็นหมู่บ้านที่มี หนังตะลุงมากที่สุด คือมีอยู่ ๔ คณะ และได้รับการว่าจ้างไปแสดงอยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะคณะเพชรขอนแก่น คณะอ.จินดา และคณะลุงก้อน จะได้รับความนิยมมาก จากคำบอกเล่าถึงความเป็นมาของคณะหนังตะลุงบ้านสระแก้วนี้ ทำให้ทราบว่า ในราวปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้มีหนังประโมทัยมาจากบ้านฟ้าเหลื่อม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ได้มาเปิดทำการแสดงที่บ้านสระแก้ว ได้รับความนิยมจากชาวบ้านสระแก้วเป็นจำนวนมาก และได้มีชาวบ้านสระแก้วคนหนึ่งชื่อ นายสอน ไชยบุตร ซึ่งเคยไปทำงานรับจ้างอยู่ที่จังหวัดพัทลุง และได้เรียนรู้การทำตัวหนังและวิธีการแสดงหนังตะลุงของภาคใต้ และกลับมาอยู่ที่บ้านสระแก้ว เมื่อได้เห็นการแสดงของคณะหนังประโมทัยบ้านฟ้าเหลื่อม จึงเกิดความคิดที่อยากจะทดลองฝึกหัดการแสดงหนังประโมทัยขึ้น โดยพยายามประยุกต์วิธีการแสดงต่างๆของหนังตะลุงภาคใต้ให้เข้ากับสภาพทางสังคม วัฒนธรรมของหมู่บ้านอีสาน จึงได้รวบรวมกลุ่มกับชาวบ้านทำการฝึกซ้อมการแสดงหนังประโมทัยของบ้านสระแก้วขึ้น ภายหลังจากการฝึกซ้อมไม่นานนัก ก็ได้เริ่มออกทำการแสดง ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นค่าตอบแทน ส่วนเหตุผลที่สำคัญของทางคณะในการแสดงหนังประโมทัยเพื่อขอพริกนั่นก็คือ คณะหนังประโมทัยของบ้านสระแก้วยังไม่มีชื่อเสียงเพิ่งออกทำการแสดง ดังนั้นการเรียกเก็บค่าแสดงเป็นตัวเงินจึงไม่เหมาะสมนัก อย่างไรก็ตามในการออกเร่แสดงหนังประโมทัยเพื่อขอพริกนั้น ปรากฏว่าในการแสดงแต่ละครั้งสามารถขอพริกได้ครั้งละ ๓-๔ กระสอบ (กระสอบละประมาณ ๔๐ กิโลกรัม) แล้วนำมาขายที่ตลาดอำเภอชุมแพ ต่อมาคณะหนังประโมทัยของนายสอน ก็ได้ปิดตัวลง หลังจากที่เปิดแสดงไปได้เพียง 5 ปี เท่านั้น ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากว่าภรรยาของนายสอนได้เสียชีวิตลงอย่างกะทันหัน ทำให้นายสอนเสียใจมากและประกาศเลิกแสดงหนังประโมทัยอย่างเด็ดขาด ทำให้คณะหนังประโมทัยบ้านสระแก้ว ปิดตัวลง ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ นั่นเอง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้มีลูกศิษย์ที่เคยอยู่กับคณะหนังประโมทัยของนายสอน จำนวน ๓ คน คือ นายสงวน นายสมโภชน์ และนายชวน ได้รวมตัวกันรื้อฟื้นและตั้งคณะหนังประโมทัยของบ้านสระแก้วขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ทำการออกเร่แสดงไปที่ต่างๆ โดยใช้ชื่อคณะว่า เพชรขอนแก่น มาจนถึงทุกวันนี้ และคณะหนังตะลุงคณะอื่นๆก็เกิดขึ้นมาตามลำดับ องค์ประกอบของหนังประโมทัย คณะเพชรโพนทัน ๑.ผู้แสดง โดยทั่วไปหนังประโมทัยคณะหนึ่งๆจะประกอบด้วยผู้แสดง ๕-๑๐ คน แบ่งออกเป็นคนเชิดหนัง ๒-๓ คน หัวหน้าคณะมักจะทำหน้าที่เชิดหนัง และพากย์หนัง(เจรจา)ไปพร้อมๆกัน หรือบางครั้งอาจจะทำหน้าที่พากย์โดยไม่ได้เชิดหนัง โดยมีคนพากย์ (คนเจรจา) เป็นชายจริง หญิงแท้ บางคณะใช้ผู้ชายพากย์ ดังนั้นผู้ที่ทำหน้าที่พากย์(เจรจา) อย่างเดียวในคณะหนัง ประโมทัยจึงไม่ค่อยมีมากนัก ส่วนคนเล่นดนตรีจะมี ประมาณ ๓-๕ คน หรือขึ้นอยู่กับจำนวนของเครื่องดนตรี โดยทั่วไปแล้วในคณะหนังประโมทัยใช้ผู้แสดงน้อย ดังนั้นทุกคนจึงต้องทำหน้าที่ช่วยกันหลายอย่าง และช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่ องค์ประกอบของหนังประโมทัย องค์ประกอบของหนังประโมทัย คณะรุ่งเรือง ผู้แสดง โดยทั่วไปหนังประโมทัยคณะหนึ่งๆจะประกอบด้วยผู้แสดง ๕-๑๐ คน แบ่งออกเป็นคนเชิดหนัง ๒-๓ คน หัวหน้าคณะมักจะทำหน้าที่เชิดหนัง และพากย์หนัง(เจรจา)ไปพร้อมๆกัน หรือบางครั้งอาจจะทำหน้าที่พากย์โดยไม่ได้เชิดหนัง โดยมีคนพากย์ (คนเจรจา) เป็นชายจริง หญิงแท้ บางคณะใช้ผู้ชายพากย์ ดังนั้นผู้ที่ทำหน้าที่พากย์(เจรจา) อย่างเดียวในคณะหนัง ประโมทัยจึงไม่ค่อยมีมากนัก ส่วนคนเล่นดนตรีจะมี ประมาณ ๓-๕ คน หรือขึ้นอยู่กับจำนวนของเครื่องดนตรี

Poll

ประชาชนชาวตำบโพนทัน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานในโครงการก่อสร้าง ประเภทใดมากที่สุด ?
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
Total Votes:
First Vote:
Last Vote:

Map

สารสนเทศ สถ.

หน่วยงาน สถ.

ลิงค์น่าสนใจ