×

คำเตือน

JFolder: :files: Path is not a folder. Path: /home/phonthango/domains/phonthan.go.th/public_html/2020/Phonthan/Gallery/office
×

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery Pro plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: Phonthan/Gallery/office

ประวัติความเป็นมา

ตราสัญลักษณ์

ประวัติความเป็นมาของตำบลโพนทัน ( หมู่ที่ 1,2 และ 5 ) และประวัติพระธาตุเจ้าบุญสูง

      ครั้งกะนั้น มีพระยาขอมองค์หนึ่ง มีพระนามว่า “พระยาเอี่ยวตอง” มีถิ่นฐานแนวเขตอยู่ในเขาพระวิหาร ได้ยกไพร่พลนำก้อนอิฐ ก้อนหิน ทราย ศิลาแลง ใบสีมา เป็นบรรณาการเพื่อไปสมทบสร้างพระธาตุพนม ได้มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก และลัดเลาะไปทางที่โล่งแจ้ง เพื่อหนีสัตว์ร้ายแล้วยกพลขึ้นเหนือมาพักที่เนินแห่งหนึ่ง เพราะทิศตะวันตกมีน้ำอุดมสมบูรณ์ดี ซึ่งปัจจุบัน เรียกว่า ”หนองสนม” ขณะเดียวกันก็มีกองทัพขอมฝ่ายใต้ คือ พระยาเอี่ยวทา ได้ยกพลนำอิฐหินศิลาแลงเพื่อไปสมทบสร้างพระธาตุพนมเช่นเดียวกัน มาพบกันที่บริเวณเนินดิน ที่พระยาเอี่ยวตองพักอยู่ ทั้งสองทัพจึงหยุดพักผ่อนเอาแรง 2-3 วันต่อมา ได้ทราบว่าพระธาตุพนมได้สร้างเสร็จแล้ว ทั้งสองทัพจึงปรึกษากันแล้วนำอิฐหินศิลาแลงก่อเป็นพระธาตุไว้ ณ เนินดินแห่งนี้ (ปัจจุบันคือวัดโพนทัน หมู่ 5 ตำบลโพนทัน) โดยใช้เปลือกพงเป็นกาวยึดเกาะให้แน่นคนอายุ 66 ปี ขึ้นไป (คือคนที่เกิด พ.ศ. 2480 ลงไป) จะเห็นพระธาตุองค์เดิมสมัยนั้นเรียกพระธาตุว่า “พระเจ้าบุญสูง” ซึ่งมีความกว้าง 6 เมตร ยาว 10 เมตร สูง 8 เมตร รูปร่างคล้ายพานรัฐธรรมนูญภายในบรรจุแก้วแหวนเงินทองและของโบราณ

      เมื่อสร้างเสร็จแล้วพระยาขอมทั้งสองได้ลงคาถาอาคมไว้ดาบ 4 เล่ม และฝังไว้รอบ 4 ทิศ เพื่อป้องกันภูติผีปีศาจ และยกทัพกลับถิ่นฐานเดิม มีชนกลุ่มหนึ่งไม่กลับและสร้างที่อยู่อาศัยบริเวณพระธาตุ และเรียกบ้านตนเอง ว่า ”บ้านดาบ” บางกลุ่มก็เรียกชื่อบ้านตนเอง ว่า “บ้านโพนทัน” เพราะเนินดินแห่งนี้ “ต้นทัน” (ต้นพุทรา) ใหญ่มากมาย บางกลุ่มเรียกว่า “บ้านพลทัน” เพราะ 2 ทัพมาทันกัน (มาพบกัน) ณ เนินดินแห่งนี้ต่อมาเรียกว่า “พลทัน” เป็น “โพนทัน” โดยมีภาษาที่ใช้เป็นภาษาอีสาน

      ประมาณปี พ.ศ.2542 ประชาชนจำนวนหนึ่งเกิดโรคเรื้อน ซึ่งภาษาชาวบ้านเรียกว่า โรคขี้ทูด เป็นที่รังเกียจของคนในหมู่บ้านโพนทันอย่างยิ่ง เจ้าหน้าที่รัฐจึงได้อพยพคนป่วยออกจากหมู่บ้าน เพื่อทำการรักษาและป้องกันโรค จนกระทั่งรักษาหาย และกลับเข้าหมู่บ้านดังเดิม สถานที่ที่ทำการรักษาคนป่วย ดังกล่าวปัจจุบัน เรียกว่า “โนนขี้ทูด” อยู่ทางทิศเหนือของตำบล ต่อมาในปี พ.ศ. 2462 ได้ยกฐานะหมู่บ้านเป็นตำบลโพนทัน โดยมีหมู่บ้านในเขตการปกครอง จำนวน 5 หมู่บ้าน ในปี พ.ศ. 2485 เกิดน้ำท่วมใหญ่ พระธาตุองค์เดิมได้หักล้มครึ่งองค์ ไม่มีการบูรณะแต่อย่างใด ต่อมาปี พ.ศ. 2495 ได้บูรณะใหม่ โดยได้สร้างพระธาตุองค์ปัจจุบัน คล่อมใจกลางพระธาตุองค์เดิม

 

{gallery}office{/gallery}

Poll

ประชาชนชาวตำบโพนทัน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานในโครงการก่อสร้าง ประเภทใดมากที่สุด ?
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
Total Votes:
First Vote:
Last Vote:

Map

สารสนเทศ สถ.

หน่วยงาน สถ.

ลิงค์น่าสนใจ